ที่มาและความสำคัญ

ตำบลบางขุด ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา เดิมชาวบ้านตำบลบางขุดมีกลุ่มจักสานกระเป๋าจากเส้นพลาสติก กระจูด และผักตบชวาอยู่แล้ว ทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ตำบลบางขุดได้ลงสำรวจชุมชน จึงพบว่าชุมชนตำบลบางขุด มีการปลูกต้นกล้วยเป็นจำนวนมาก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของต้นกล้วย จึงได้นำต้นกล้วยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเป๋าสาน หูหิ้วแก้ว ตะกร้า จากเชือกกล้วย เป็นต้น และได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้กับชาวบ้านในชุมชนในเรื่องการจักรสานกระเป๋า หูหิ้วแก้ว ให้ชาวบ้านนำความรู้ไปเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลที่อยู่รอด โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ แก้ปัญหาหนี้สิน สร้างอาชีพเสริมให้คนในชุมชน นำไปสู่การสร้างรายได้ต่อชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง และช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคม

 

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลบางขุด มีดังนี้

  • โครงการอมรมให้ความรู้ปลูกผักสวนครัวเพื่อสุขภาพ เพื่อช่วยในการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่
  • กิจกรรมการฝึกอบรมทักษะอาชีพ
  • โครงการฝึกอบรมการสร้างองค์ความรู้ทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย
  • โครงการจักสานกล้วยๆสร้างอาชีพชุมชน/โครงการสร้างสรรค์เมนูกล้วย ช่วยจัดการวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาคุณภาพกลุ่มเปราะบาง
  • โครงการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ความรู้แปรรูปสมุนไพร

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลที่อยู่รอด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.เกิดการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาอาชีพในชุมชน

2.เกิดการวัดค่าข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data)