ที่มาและความสำคัญ

ตำบลชัยนาท เป็นตำบลที่มีชื่อเดียวกับจังหวัด แต่ไม่ใช่พื้นที่ที่เศรษฐกิจของจังหวัด เพราะยังไม่เป็นที่รู้จัก ตำบลชัยนาทมีบรรยากาศดี ทัศนียภาพสวยงาม เต็มไปด้วยวัดและร้านอาหารและเครื่องดื่มริมแม่น้ำ ริมทุ่งนา ซึ่งให้บรรยากาศของการพักผ่อนอย่างดีเยี่ยม ด้านสินค้าในชุมชนมีหลากหลาย ชาวบ้านมีการจับกลุ่มกันทำสินค้าที่หลากหลาย เทศบาลตำบลชัยนาทได้มีการพัฒนาด้านความเป็นอยู่และการคมนาคมต่างได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงมีปัญหาด้านของการกระตุ้นให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน และการส่งเสริมสินค้าชุมชนให้กลายเป็นรายได้เสริม

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ

1.ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในตำบลชัยนาท โดยใช้กิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว จัดทำเว็บไซต์และสื่อ online เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวในดำบลชัยนาทและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในตำบลชัยนาท

2.ส่งเสริมสินค้าชุมชนและสร้างรายได้เสริม โดยการสนับสนุนและส่งเสริมสินค้าที่ชาวบ้านมีความสามารถในการผลิต ให้จำหน่ายสู่ตลาดออนไลน์ได้ เช่น การออกแบบตราสินค้า สื่อประกอบการขาย รวมถึงจัดอบรมการขายของออนไลน์ การผลิตสินค้าจากสมุนไพรในท้องถิ่น เป็นต้น

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลชัยนาท มีดังนี้

  • พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว จัดทำเว็บไซต์และสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว
  • ออกแบบตราสินค้า สื่อประกอบการขาย รวมถึงจัดอบรมการขายของออนไลน์ การผลิตสินค้าจากสมุนไพรในท้องถิ่น

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลที่ตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าที่เป็นอาชีพเสริม ผลิตกันเองในชุมชน และยังมีนักท่องเที่ยวภายในตำบล จังหวัดใกล้เคียงเข้ามาท่องเที่ยว เกิดรายได้สู่ร้านค้าในชุมชน

2.ชาวบ้านเริ่มอยู่เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ ผู้ที่เรียนจบใหม่เริ่มหางานในภูมิลำเนามากกว่าไปทำงานต่างหวัด คนรุ่นใหม่ต้องการพัฒนาสินค้าของตนเองจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น