ที่มาและความสำคัญ

ตำบลท่าชัย มีครัวเรือนในพื้นที่ 2,651 ครัวเรือน ภูมิประเทศส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีแม่น้ำ 2 สาย ไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการทำเกษตรกร และเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี อาชีพหลักของคนในชุมชนเป็นการทำเกษตรกรรม

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่อยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ แก้ไขปัญหาความยากจนด้านการมีงานทำและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเนื่องจากอาชีพหลักของคนในชุมชน มีการทำเกษตรกรรม การปลูกข้าว การเลี้ยงสัตว์ และต้องการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ดังนั้นจึงมีการพัฒนา ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น มีองค์ความรู้ใหม่ในด้านการท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาและยกระดับชุมชนได้

 

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลท่าชัย มีดังนี้

  • โครงการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุด้วยอาหารท้องถิ่น
  • โครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว
  • โครงการอบรมให้ความรู้สินค้าและเกษตรแปรรูป OTOP
  • โครงการการจัดอบรมการสร้างรายได้จากการพัฒนา แหล่งเรียนรู้เชิงเกษตร
  • โครงการพัฒนาช่องทาง การสื่อสารตลาดออนไลน์ สำหรับสินค้า OTOP

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่อยู่รอด และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลที่ตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.ชุมชนท่าชัย มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมทั้งมีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน เพจ “ตลาดสินค้า OTOP ตำบลบ้านกล้วยและตำบลท่าชัย จังหวัดชัยนาท”

2.ชุมชนมีอาชีพใหม่ ๆ เพื่อลดการย้ายถิ่นฐานของคนในตำบลลง

3.คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ในด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย การคัดแยกขยะ

4.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลด้านอาหารสุขภาพ