ที่มาและความสำคัญ

เขตบางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 28.523 ตร.กม. เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร แขวงคลองจั่น เป็นหนึ่งในเขตการปกครองของเขตบางกะปิ มีเนื้อที่โดยประมาณ 12,700 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย เป็นที่ราบค่อนข้างลุ่มมาก ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ทางการเกษตร แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่แหล่งชุมชนอยู่อาศัย คนเป็นผู้ทำให้เกิดขยะ การจัดการปัญหา คือ ต้องทำให้คนที่เป็นผู้สร้างภาระเรื่องขยะกลับมาเป็นพลังในการแก้ปัญหาขยะ โดยการจัดการขยะอย่างรู้คุณค่า การคัดแยกขยะ ลดปริมาณขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะ และการแปลงขยะให้เป็นทรัพยากรการประเมินศักยภาพแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอดเพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืนเมื่อจบโครงการ โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน และตลาดในแขวงคลองจั่นได้ร่วมกันดำเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ โดยมีโจทย์ปัญหาที่ต้องดำเนินการพัฒนาพื้นที่ ได้แก่

1.เกิดการจัดการขยะภายในชุมชนอย่างรู้คุณค่า

2. ลดปริมาณขยะในแขวงคลองจั่น จำนวน 30 ตัน

3. เกิดการใช้ประโยชน์จากขยะ การแปลงขยะให้เป็นทรัพยากร

4. ลดรายจ่าย สร้างรายได้ และขยายโอกาส

5. ส่งเสริมการเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อม

6. เกิดการจัดตั้งกลุ่ม สร้างเครือข่ายการจัดการขยะ

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมและผลงานที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่แขวงคลองจั่น มีดังนี้

  • อบรมให้ความรู้เรื่อง Circular Economy
  • การคัดแยกขยะตามหลัก 3R
  • การใช้ประโยชน์จากขยะและขยะสด
  • การแปลงขยะรีไซเคิลให้เป็นทรัพยากร
  • จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่ยังไม่สามารถอยู่รอด สามารถยกระดับตำบลเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1. สามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับชุมชน

2. สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนของประชาชนในชุมชน

3.เกิดการต่อยอด และพัฒนาผลิตภัณฑ์

4.ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

5.เกิดการรวมกลุ่มอาชีพในแต่ละเครือข่าย สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน

6.สามารถลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชน

7.ปลูกจิตสำนึกการแบ่งปันในชุมชนด้วยการบริจาคขยะรีไซเคิลเพื่อนำรายได้มาพัฒนาชุมชน