โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ปี 2564
- Details
- SDGs - Outreach
ที่มาและความสำคัญ
ตำบลเกาะลันตาใหญ่ จัดตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2444 ซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีหมู่บ้านในเขตการปกครองจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 3,192 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งหมด 6,775 คน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว ประมง ค้าขาย ท่องเที่ยวและบริการ และรับจ้างทั่วไป ด้านภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง มีพื้นที่ราบริมชายฝั่งทะเล ประกอบด้วยเกาะบริวาร 12 เกาะ มีบริการการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของฝากของที่ระลึก และธนาคาร มีแนวชายหาดมีอ่าวที่สวยงาม และมีแนวป่าชายเลน
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียงเพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืนเมื่อจบโครงการ ทีม U2T ตำบลเกาะลันตาใหญ่ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกำจัดความยากจนทั้งทางด้านด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ โดยมีโจทย์การพัฒนาและความต้องการของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่
เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์วิสาหกิจชุมชนและสถาบันการเงินชุมชนอย่างทั่วถึง
เป้าหมายที่ 2 การส่งเสริมให้มีแหล่งน้ำประจำครอบครัว แหล่งน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภคให้เพียงพอตลอดทั้งปี
เป้าหมายที่ 3 การส่งเสริมระบบยุติธรรมในชุมชนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ผลงานจากโครงการ
โครงการและผลงานที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลเกาะลันตาใหญ่ มีดังนี้
ด้านสุขภาพ ได้แก่
ด้านความเป็นอยู่ ได้แก่
ด้านการพัฒนาตำบล ได้แก่
ผลลัพธ์จากโครงการ
ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง สามารถยกระดับตำบลเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ
1. ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับการท่องเที่ยว และการเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน
2. ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง มีแหล่งน้ำที่สะอาดเพิ่มขึ้น