ที่มาและความสำคัญ

ตำบลห้วยกรดพัฒนา เป็นหนึ่งในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยที่ประสบปัญหาความยากจน ระดับรายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของพื้นที่ภาคกลางจากการที่ประชากรส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) พึ่งพารายได้จากการทำนาเป็นหลัก ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอ แปรผันตามราคาข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวที่มักจะมีปัญหาราคาตกต่ำอยู่เสมอ อีกทั้งการทำนาของเกษตรกรในพื้นที่ยังเป็นการทำนาแบบพึ่งพาน้ำฝนที่มีความแปรปรวนมากขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ การแก้ไขปัญหาความยากจน จากการที่ตำบลมีคนชรา และคนพิการในอัตราส่วนค่อนข้างสูง ประกอบกับการทำการเกษตรตามฤดูกาล

 

 

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลห้วยกรดพัฒนา มีดังนี้

  • โครงการอบรมไอศกรีมน้ำตาลโตนดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมน้ำตาลโตนด เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประจำตำบลเดิม
  • โครงการอบรมการถักเชือกผักตบชวา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รองเท้าแฟชั่นผักตบชวา

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.กลุ่มคนว่างงาน คนชราและคนพิการสามารถมีรายได้เสริม

2.มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับชุมชน

3.มีทักษะเพิ่มสำหรับประกอบอาชีพ