โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
- Details
- SDGs - Outreach
ที่มาและความสำคัญ
ตำบลหนองน้อย มีทรัพยากรที่ค่อนข้างสมบูรณ์และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก มีการทำนา เลี้ยงสัตว์ รวมถึงกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ และการทำผลิตภัณฑ์ของดีในชุมชน ประชากรอายุระหว่าง 25 -50 ปี บางส่วนไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ประชากรบางส่วนต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานภาคอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้าน เพราะในพื้นที่ตำบลหนองน้อย ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานแรงงาน
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ แก้ไขปัญหาความยากจนด้านเศรษฐกิจ ด้านการไม่มีงานทำ หรือมีงานทำที่มีรายได้ต่ำ โดยคนในพื้นที่ส่วนมากมีการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปหรืออาชีพใช้แรงงาน ทำให้ได้รับรายได้จากการรับจ้างที่ไม่ประจำจากการทำการเกษตรเพราะไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตัวเอง และมีค่าใช้จ่ายไม่พอเพียงกับการดำรงชีวิต ในขณะที่ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะได้รับรายได้จากการค้าขายสินค้าที่ผลิตขึ้นเองจากวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีคุณภาพ และรูปลักษณ์ภายนอกยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทำให้ยังไม่สามารถจัดจำหน่ายได้รายได้มากเพียงพอ
ผลงานจากโครงการ
กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลหนองน้อย มีดังนี้
ผลลัพธ์จากโครงการ
ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอด และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ
1.โอกาสสร้างงาน อาชีพ และรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการทำงานรับจ้างแรงงาน
2.มีผลิตภัณฑ์ วิธีการและช่องทางการหารายได้ที่เพิ่มขึ้น หลังจากการมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเปิดช่องทางการจัดจำหน่าย คือ เพจ ของดีหนองน้อย มีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันในการดำเนินการหารายได้ ได้แก่ การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนแปรรูปหนองน้อย
3.มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนแปรรูปหนองน้อย ทำให้เป็นการเปิดพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมที่จะสื่อสารและเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน