ที่มาและความสำคัญ

ตำบลศิลาดาน มีพื้นที่ทั้งหมด 22.60 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาจึงเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ พื้นที่จึงมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ เป็นตำบลที่มีศักยภาพ มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง มีการบริหารจัดการด้านกายภาพเป็นอย่างดี มีคลองชลประทานตัดผ่าน แต่ยังคงมีปัญหาในบางด้าน เช่น ยังขาดความร่วมมือกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ ประชาชนยังขาดทักษะด้านการบัญชีครัวเรือน ขาดวิสาหกิจชุมชน มีภาวะการว่างงาน

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ ประชาชนยังขาดความร่วมมือกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ ประชาชนยังขาดทักษะด้านการบัญชีครัวเรือน และยังขาดวิสาหกิจชุมชน มีภาวะการว่างงานพอสมควร เกษตรอินทรีย์ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะการเกษตรมีลักษณะที่เน้นปริมาณผลผลิต

 

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลศิลาดาน มีดังนี้

  • ฝึกอบรมทักษะด้านต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ ทำเป็นแปลงเกษตรสาธิต เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งผลิตวัตถุดิบ เพื่อนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่าจัดจำหน่ายต่อไป

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.ศูนย์การเรียนรู้เดิมได้รับการพัฒนาเป็นแปลงเกษตรสาธิตและแหล่งท่องเที่ยว

2.ผลผลิตได้รับการพัฒนา เพิ่มมูลค่า และจัดจำหน่าย เป็นรายได้ของพื้นที่ต่อไป

3.คุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการมีแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้า OTOP

4.พื้นที่มีศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ