ที่มาและความสำคัญ

ตำบลคุ้งสำเภา ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ค้าขายทางเรือ ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 5,330 คน ประชากรในพื้นที่มีการประกอบอาชีพสัดส่วนเท่า ๆ กันระหว่างรับราชการ ค้าขาย รับจ้าง และเกษตรกร รายได้ต่อหัวของประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ มากกว่า 30,000 บาท แต่มีส่วนที่ตกเกณฑ์อยู่บ้าง

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่อยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ ประชาชนยังขาดทักษะด้านการบัญชีครัวเรือน และยังขาดวิสาหกิจชุมชน มีปัญหาการว่างงาน ด้านเกษตรอินทรีย์ยังไม่เป็นรูปธรรม ยังขาดองค์ความรู้ด้านทักษะอาชีพ ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังขาดระบบบำบัดน้ำเสีย

 

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลคุ้งสำเภา มีดังนี้

  • การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
  • การเกษตรปลอดสารพิษ เช่น ผักสวนครัวรั้วกินได้ ผักไฮโดรโปนิกส์
  • ธนาคารขยะ เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่อยู่รอด และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.ได้มีการผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จจะทำให้รายได้ของคนในพื้นที่เพิ่มขึ้นในภาพรวม

2.ผลผลิตได้รับการพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มและสามารถเป็นรายได้ของพื้นที่ต่อไป

3.เกิดศูนย์กลาง Circular Economy

4.การเกษตรอินทรีย์ แม้ยังมีขนาดเล็ก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีสำหรับคนในพื้นที่