โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- Details
- SDGs - Outreach
ที่มาและความสำคัญ
ตำบลหนองยาว มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว ทำนา ทำไร่ จึงทำให้วิถีชุมชนของชาวบ้านตำบลหนองยาว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ใช้วัตถุดิบและผลผลิตทางการเกษตรที่มีในชุมชนท้องถิ่นในการหาเลี้ยงชีพ อีกทั้งยังพบว่าเกษตรกรในพื้นที่หนองยาวมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเฉพาะขึ้นเพื่อปลูกพืชเป็นอาชีพเสริมตามความสนใจ และความชำนาญของแต่ละกลุ่ม เช่น การแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาโรค อุปโภคบริโภค อาทิ น้ำมันไพล ลูกประคบ น้ำหม่อน และน้ำตะไคร้ เป็นต้น
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่อยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนด้านการศึกษาและด้านรายได้ โดยทางโครงการจึงได้เข้าไปมีส่วนช่วยในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการวิสาหกิจชุมชน ฝึกอบรมทักษะอาชีพ การทำสเปรย์ฟ้าทะลายโจร และสเปรย์กระชาย การทำสบู่ธรรมชาติจากน้ำหมักกล้วย การแปรรูปอาหารจากเห็ด และมะละกอที่ปลูกมากในท้องถิ่น การส่งเสริมการค้าตลาดออนไลน์ (Online) รวมไปถึงการพัฒนาทักษะการทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างสัมมาชีพให้แก่คนในพื้นที่ชุมชนหนองยาว โดยเน้นการส่งเสริมทางด้านด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นหลัก
ผลงานจากโครงการ
กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลหนองยาว มีดังนี้
ผลลัพธ์จากโครงการ
ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่อยู่รอด และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ
1.รายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรภายในชุมชน ไปต่อยอดพัฒนา ก่อให้เกิดการสร้างสัมมาชีพภายในชุมชนมากยิ่งขึ้น
2.คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากคนในชุมชนสามารถประกอบอาชีพภายในพื้นที่ชุมชนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไปหางานทำลดลง
3.สามารถลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาและด้านรายได้ของคนในชุมชน