ที่มาและความสำคัญ

แขวงบางแคเหนือ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของเขตบางแค โดยมีพื้นที่ 14.25 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 13 ซึ่งมีครัวเรือนรวมทั้งหมดจำนวน 2,538 ครัวเรือน โดยแขวงบางแคเหนือเป็นพื้นที่ซึ่งประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมอันหลากหลายประเภท

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่อยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียงเมื่อจบโครงการ โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ ได้แก่

1. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดอาชีพใหม่

2. การสร้างสินค้าประจำชุมชนจากผลิตผลทางเกษตรท้องถิ่นเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

3. การสร้างขีดความสามารถและพัฒนาทักษะด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่แขวงบางแค มีดังนี้

  • การทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator)
  • การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในแขวงบางแคเหนือให้เกิดการฟื้นฟูและยกระดับระบบเศรษฐกิจ
  • การสร้างขีดความสามารถอย่างยั่งยืนแก่กำลังคนให้เกิดการพัฒนาทักษะจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ให้สามารถเพิ่มรายได้

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้ เป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.ชุมชนมีทักษะด้านการแปรรูปผลิตผลการเกษตรของท้องถิ่นและทักษะด้านการท่องเที่ยวเกษตรเชิงสร้างสรรค์ สามารถสร้างอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มเติม และกระจายรายได้ภายในชุมชน

2.ชุมชนเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ จากการต่อยอดผลิตผลการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากทุนชุมชน

3.เพิ่มการรับรู้ของกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มนักท่องเที่ยว ทำให้ชุมชนในแขวงบางแคเหนือเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการมาเยือนและการขายที่มากขึ้น

4.เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อการดำเนินงาน

5.มีการจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์จากการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

6.ชุมชนเกิดการหันมาตระหนัก มีความเข้าใจ และภาคภูมิใจในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรที่มี รวมถึงมีการช่วยเหลือเกื้อกูลและสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนกันมากยิ่งขึ้น