ที่มาและความสำคัญ

ตำบลตลาดใหม่มีภาคการเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตำบล โดยเกษตรกรในตำบลใช้ทรัพยากรการผลิต คือ ที่ดินในการทำนา สูงถึงประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ดินทั้งหมดในตำบลตลาดใหม่ ขณะที่ปัจจัยการผลิตด้านแรงงานภาคการเกษตรมีจำนวนลดลง เนื่องจากทายาทเกษตรกรคนรุ่นใหม่พากันไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดข้างเคียง และมีจำนวนผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนสูงขึ้น

โดยทางทีมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จึงได้มองโจทย์การพัฒนาตำบลตลาดใหม่ในแง่ของการแก้ปัญหาความยากจนในมิติด้านการมีงานทำและรายได้ ผ่านการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เพิ่มสูงขึ้นด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การสาธิต การมีส่วนร่วมลงมือทำของประชาชนในตำบลผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

1 การจัดทำแปลงเกษตรสาธิต พัฒนาแปลงเกษตรอินทรีย์และลงสำรวจพื้นที่แปลงเกษตร

2 การจัดทำเพจเพื่อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีการจัดทำตัวอย่าง ออกแบบหน้าเว็บไซต์เพื่อทำเป็นเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์

3 การฝึกอบรมให้แก่ประชาชน เกษตรกรและผู้รับจ้างโครงการฯ ในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

(1) การพัฒนาการเกษตรพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ (2) การพัฒนาตลาดออนไลน์เพื่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (3) การทำบัญชีครัวเรือน (4) การเลี้ยงสัตว์

4 การบรรยายพิเศษเรื่องต่าง ๆ ได้แก่

(1) ผลกระทบด้านลบจากขยะพลาสติก (2) ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน กรณีศึกษาการจัดการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ ตำบลตลาดใหม่ (3) มัคคุเทศก์ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาตำบลตลาดใหม่ (4) ผลิตภัณฑ์การแปรรูปอาหาร เพื่อสร้างแนวทางหรือไอเดียใหม่ (5) จานผักตบชวารักษ์โลก (6) การออกแบบการบริการและกิจกรรมฐานการเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ(7) การจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การคำนวณ Carbon Footprints และ การประเมินมูลค่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีสมมุติเหตุการณ์ให้มาณค่า CVM