ที่มาและความสำคัญ

ตำบลบางหลวง เป็นตำบลที่มีสภาพทื้นที่เหมาะแก่การทำกสิกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าวนาปลัง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพทำนา จากการวิเคราะห์ฐานทรัพยากรและศักยภาพในการพัฒนาของตำบล ทำให้ทราบว่าตำบลบางหลวงในปัจจุบันประสบปัญหาในเรื่อง (1) การพัฒนาต่อยอดสินค้าของชุมชน (2) การยกระดับการทำการเกษตรให้ได้มาตรฐาน และ (3) การทำการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายตลาด ทำให้ในระยะที่ผ่านมามีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่ได้มีการยกระดับสินค้าและบริการให้มีการขยายกลุ่มผู้บริโภคให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่เน้นการรักษากลุ่มลูกค้าเดิม

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่อยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ การแก้ไขประเด็นปัญหาในพื้นที่ ได้ยกประเด็นปัญหาปัญหาในเรื่อง (1) การพัฒนาต่อยอดสินค้าของชุมชน (2) การยกระดับการทำการเกษตรให้ได้มาตรฐาน และ (3) การทำการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายตลาด

 

 

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลบางหลวง มีดังนี้

  • การโปรโมท สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญในตำบล ร้านอาหาร และแจ้งข่าวสารของตำบล ทางช่องทาง Instagram Facebook Youtube และ Tiktok
  • การจัดอบรมโครงการถ่ายทอดความรู้การทำผลิตภัณฑ์ OTOP สู่ชุมชนจากผักตบชวา
  • การจัดอบรมโครงการส่งเสริมการใช้สื่อเพื่อสร้างรายได้จากวัตถุดิบในชุมชน (น้ำสมุนไพร)

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่อยู่รอด และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.ผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้รับจ้างในโครงการ จำนวน 4 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทาง Instagram Facebook Youtube และ Tiktok เป็นต้น

2.ประชาชนในพื้นที่มีช่องทางในการติดตามข่าวสารในตำบลเพิ่มขึ้น 4 ช่องทางทำให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสได้รับข่าวสารของตำบลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น