โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
- Details
- SDGs - Outreach
ที่มาและความสำคัญ
ตำบลวังหมัน อยู่ห่างจากจังหวัดชัยนาทประมาณ 45 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 78.72 ตารางกิโลเมตร ความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตตำบลวังหมัน อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเรียบง่าย มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะประชากรได้รับการศึกษาการเกณฑ์ที่รัฐกำหนด สาธารณสุขครบครัน ถึงแม้สภาพพื้นที่จะเป็นที่ราบสูงแต่ประชากรก็ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีศักยภาพในด้านเกษตรกรรมเชิงพื้นที่ มีทรัพยากรค่อนข้างสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับเพาะปลูก ทำนา เลี้ยงสัตว์ มีการนำวัตถุดิบชุมชนมาแปรรูปเป็นสินค้า รวมถึงยกระดับสินค้าเด่นชุมชนและขยายตลาดให้หลากหลายขึ้น เพื่อสร้างรายได้ พัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพให้เกิดความยั่งยืน
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลที่มุ่งสู่ความพอเพียง โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ แก้ไขปัญหาความยากจนด้านเศรษฐกิจ ด้านการไม่มีงานทำ หรือมีงานทำที่มีรายได้ต่ำ โดยคนในพื้นที่ที่มีระดับการศึกษาไม่สูง จะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป หรืออาชีพใช้แรงงาน ทำให้ได้รับรายได้จากการรับจ้างที่ไม่ประจำจากการทำการเกษตรเพราะไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตัวเอง และมีค่าใช้จ่ายไม่พอเพียงกับการดำรงชีวิต ในขณะที่ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะได้รับรายได้จากการค้าขายสินค้าที่ผลิตขึ้นเองจากวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีคุณภาพ และรูปลักษณ์ภายนอกยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทำให้ยังไม่สามารถจัดจำหน่ายได้รายได้มากเพียงพอ
ผลงานจากโครงการ
กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลวังหมัน มีดังนี้
ผลลัพธ์จากโครงการ
ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอด และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ
1.มีโอกาสสร้างงาน อาชีพ และรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการทำงานรับจ้างแรงงาน
2.มีผลิตภัณฑ์ วิธีการ และช่องทางการหารายได้ที่เพิ่มขึ้น หลังจากการมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเปิดช่องทางการจัดจำหน่าย คือ เพจ ร้านใน Shopee “วังหมันช็อป”
3.มีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันในการดำเนินการหารายได้ ได้แก่ การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนของดีบ้านวังหมัน
4.มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนของดีบ้านวังหมัน ทำให้เป็นการเปิดพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมที่จะสื่อสารและเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน
5.มีการเข้าถึงข้อมูลระบบการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการป้องกันการระบาดของโควิด อาทิ ข้อมูลมาตรฐานการป้องกันตนเองจากโควิด-19 เป็นต้น