โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ่อแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
- Details
- SDGs - Outreach
ที่มาและความสำคัญ
ตำบลบ่อแร่ ประชาชนในตำบลบ่อแร่ ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยการทำนาเป็นหลักซึ่งพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทานทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง โดยอาศัยน้ำจากธรรมชาติได้แก่น้ำฝน ส่วนอีกร้อยละ 20 ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ ตำบลบ่อแร่เป็นพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน พึ่งพาการใช้น้ำจากธรรมชาติ ได้แก่ น้ำฝน เป็นหลัก ซึ่งเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำใช้สำหรับการทำการเกษตร และมีประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่ต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงาน ทำให้ประชากรที่เหลืออยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นประชากรผู้สูงอายุและเด็ก
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ แก้ไขปัญหาความยากจน รายได้เฉลี่ยของคนในครัวเรือนต่อปีต่ำ แม้อาชีพหลักของประชากรในท้องถิ่น คือ เกษตรกรรม แต่เมื่อถึงฤดูแล้งจะเกิดปัญหาความขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตร ทำให้ประชากรไม่สามารถทำการเกษตรได้ และขาดรายได้ในช่วงฤดูดังกล่าว
ผลงานจากโครงการ
กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลบ่อแร่ มีดังนี้
ผลลัพธ์จากโครงการ
ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ
1.มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในช่วงฤดูแล้งที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้
2.เพิ่มยอดขายผลิตชุมชนหลังจากมีช่องทางการขาย คือ “เพจ ชิม ช้อป by Borrae”
3.คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการปลูกผักปลอดสารพิษ หรือลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร
4.การเข้าถึงระบบการรักษา พยาบาลอย่างทั่วถึง รวมทั้ง ชุมชนมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง เช่น ข้อมูลวัคซีน และการป้องกัน