ที่มาและความสำคัญ

ตำบลเขาท่าพระ ตำบลเขาท่าพระมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับกับเนินเขาเป็นบางส่วน มีพื้นที่ 19,306 ไร่ มี 8 หมู่บ้าน ประชากรจำนวน 2,118 ครัวเรือน สภาพพื้นที่ดินส่วนหนึ่งเหมาะสมกับการทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ บางส่วนแห้งแล้งขาดน้ำในช่วงหน้าแล้ง เป็นสถานที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายแห่ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น รอยพระพุทธบาทวัดเขาท่าพระ และสวนนกชัยนาท เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมือง หมู่บ้านและชุมชนเกิดใหม่

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ

1. พัฒนาชุมชนให้มีสมรรถนะในการจัดการสูง

2. ช่วยให้เกิดการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ

3. ช่วยส่งเสริมศูนย์เรียนรู้ในตำบล

4. ช่วยในการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่

5. ส่งเสริมการเกษตรพอเพียงและอาหารปลอดภัย  

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลเขาท่าพระ มีดังนี้

  • ส่งเสริมสัมมาชีพ ส่งเสริมการตั้งกลุ่มอาชีพ จัดทำและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
  • สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในตำบล
  • จัดทำแผงค้า U2T ที่ตลาดในตำบลช่วยนำสินค้าจากชุมชนมาขาย
  • จัดทำศูนย์เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและศูนย์เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ
  • ส่งเสริมการแปรรูปสินค้า ส่งเสริมเรื่องการทำดิน ทำปุ๋ย ทำฮอร์โมน สำหรับการทำเกษตรปลอดภัย

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลที่ตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.ชุมชนมีรายจ่ายลดลงจากการปลูกพืชผักสวนครัว และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากากรขายผลิตภัณฑ์และพืชผล ชาวชุมชนมีการตั้งกลุ่มอาชีพและบางกลุ่มตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน การสร้างแผงค้าที่ตลาดทำให้มีชาวชุมชนมีโอกาสนำสินค้ามาวางขาย การสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวที่จัดที่วัดเขาท่าพระจะทำให้เศรษฐกิจในย่านนี้ดีขึ้น

2.คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ดีขึ้น ชุมชนมีความตื่นตัวเรื่องการตั้งกลุ่มอาชีพ และสนใจเรื่องการพัฒนาสินค้ามากขึ้น ชาวชุมชนมีความร่วมมือกันมากขึ้นและชาวชุมชนเห็นคุณค่าของวัด คุณค่าของป่าและแหล่งน้ำมากขึ้น ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะ เห็นคุณค่าของการแปลงขยะเป็นทรัพยากรมากขึ้น และชาวชุมชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรผู้สูงอายุมากขึ้น