ที่มาและความสำคัญ

ตำบลทุ่งพระยา เดิมพื้นที่เป็นป่าเสื่อมโทรม มีประชากรในพื้นที่ 16,597 คน มีจำนวนครัวเรือน 5,015 ครัวเรือน ประเด็นที่ได้ให้ความสำคัญในพื้นที่ คือ ด้านความเป็นอยู่และด้านการมีงานทำเนื่องจากตำบลทุ่งพระยาตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา ยังถูกรบกวนจากช้างป่าเข้ามากินพืชผลที่เพาะปลูก

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งเป็นการยกระดับสถานภาพของตำบล เริ่มต้นจากการเป็นตำบลที่อยู่รอด เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง โดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาตามโจทย์พัฒนาพื้นที่ คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนด้านความเป็นอยู่และด้านการมีงานทำและรายได้ และปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

ผลงานจากโครงการ

กิจกรรมที่เด่นชัดภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ตำบลทุ่งพระยา มีดังนี้

  • การอบรมออนไลน์การยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและช่องทางการตลาด
  • การอบรมออนไลน์พัฒนาทักษะการทำสื่อประชาสัมพันธ์และการท่องเที่ยว New Normal
  • โครงการยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนการปรับภูมิทัศน์สถานที่ท่องเที่ยว
  • โครงการฝึกอบรมพัฒนาสัมมาชีพ

 

ผลลัพธ์จากโครงการ

ภายหลังจากโครงการจากเดิมที่มีสถานะเป็นตำบลที่อยู่รอด และจากการดำเนินโครงการสามารถยกระดับตำบลให้เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการที่ดำเนินการโดยทีม U2T ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ

1.การสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง

2.การปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน

3.เกิดการให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น