สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน /กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP / กลุ่มผู้ประกอบการโฮมสเตย์ / กลุ่มท่องเที่ยวชุมชน /กลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด

เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน พัฒนาด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สามารถเข้าสู่ตลาดการค้า เพื่อสร้างการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างกลุ่มองค์กรชุมชน และ ธนาคารออมสิน ตลอดจนการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานต่อยอดองค์ความรู้ปัญญาท้องถิ่น ที่จะเป็นแนวทางในการก่อเกิดประสบการณ์ด้านการพัฒนาศักยภาพตัวเองเมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน อันนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่

โดยได้จัดให้มีการนำเสนอโครงการย่อยขึ้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และชุมชนสัมพันธ์ กล่าวเปิดงาน การนำเสนอครั้งนี้ทำในรูปแบบ Hybrid ผ่านระบบออนไลน์และออนกราวน์ ณ ห้อง 3001 อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีการนำเสนอจำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเทียนต่อเทียน ชุมชนพิบูลทรัพย์17 (อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร. อนุกัลยณ์ จีระลักษณกุล) กลุ่มชุมชนพัฒนาบ้านแบนใหญ่ (ไข่เค็มสมุนไพร) (อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร.กนกกานต์ แก้วนุช) กลุ่มชุมชนดอกไม้กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ขนมไทยโบราณ (อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร) กลุ่มศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองบ้านสุมาลี (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.วรรษิดา บุญญาณเมธาพร) กลุ่มศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านครูแดง (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.แสงแข บุญศิริ) ต่อคณะผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการจากธนาคารออมสิน ประกอบด้วย นายสมพงษ์ อ่ำบำรุง ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตคลองจั่น, นายณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน, นางสาวชลียา สระบัว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน, สิบเอกธีระศักดิ์ ทองทศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 2 หน่วยสถาบันการเงินชุมชน พร้อมทั้งหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน นำไปต่อยอดและพัฒนาต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อขุมชนอย่างยั่งยืน